วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

สื่อไม่ใหม่ ทำยังไงให้ไฉไลกว่าเก่า


สวัสดีค่ะทุกคนนน เรากลับมาอีกแล้ว หลังจากหายไปนานมาก มากจริงๆ555
คราวที่แล้วเราเขียนเรื่องการวิเคราะห์สื่อไปเนอะ ตอนนี้ก็ยังคงพัวพันกับพวกสื่อนี่อยู่อ่ะนะ
แต่วันนี้ที่จะเอามาให้ดูคือ ชิ้นใหม่นะ วันนี้เอาสื่อการสอนชุด ไวพจน์จดจำ ( Synomino )
ว่ามีส่วนดีตรงไหน และส่วนใดที่ควรปรับปรุงบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

Before
ก่อนปรับปรุงเราก็จะมาดูกันก่อนนะคะว่าสื่อชุดนี้มีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของสื่อ 
1.  บัตรคำจำนวน ๕ ชุดแบ่งเป็น 
-  ชุดที่ ๑ บัตรคำสีเหลือง 
-  ชุดที่ ๒ บัตรคำสีขาว 
-  ชุดที่ ๓ บัตรคำสีชมพู 
-  ชุดที่ ๔ บัตรคำสีฟ้า 
-  ชุดที่ ๕ บัตรคำสีเขียว
    
# ในบัตรคำทั้ง ๕ ชุดจะมีบัตรคำตั้งต้น (สีเหลืองอ่อน) 

 













บัตรคำทั้งหมดมีความแข็งแรงคงทน แต่มุมทั้ง 4 ของบัตรคำมีความแหลมคม ตอนที่ได้ทดลองเล่นดู
ก็มีบางครั้งที่โดนทิ่ม ดังนั้นบางทีเวลาที่ให้เด็กเล่น ก็อาจทำให้เกิดบาดแผลได้  อีกทั้งยังทำให้ซอง
ใส่บัตรคำเกิดการฉีกขาดอีกด้วย

2. คู่มือการใช้สื่อที่ติดอยู่ด้านในของฝากล่อง


คู่มือมีความกระชับ แต่บางทีก็อาจทำให้เด็กไม่เข้าใจ ไม่เห็นภาพ เพราะไม่มีตัวอย่างการเล่นที่ชัดเจน


After
หลังจากที่เราได้ศึกษาสื่อชิ้นนี้ดูพอสมควรแล้ว เราก็ได้นำมาแก้ไขปรับปรุงบางส่วน เริ่มจาก

1. บัตรคำที่มุมทั้ง 4 คม แหลม ก่อให่เกิดบาดแผลได้ เราก็เลยนำมาตัดมุมให้มีความโค้งเว้า ไม่คมเหมือนตอนแรก อีกทั้งยังทำให้นำเข้าซองเก็บได้ง่ายกว่าเดิม



2. คู่มือการใช้สื่อมีภาพประกอบทำให้เข้าใจการทำกิจกรรมนี้มากขึ้น และยังเพิ่มรายละเอียดส่วนประกอบของสื่อมาติดใหม่ด้วย 



3. มีการทำเล่มเฉลยขึ้นมา สำหรับเวลาที่เด็กๆต้องการจะเล่นกันเองโดยไม่ต้องมีครูผู้สอนหรือกรรมการ
เด็กๆสามารถตรวจคำตอบได้ด้วยตัวเอง ทำให้เด็กๆสามารถเล่นสื่อนี้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ 
โดยไม่ต้องรอครูผู้สอนหรือกรรมการ



ก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการแนะนำสื่อที่เรานำมาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสื่อชิ้นนี้ให้ดีขึ้น 
คราวหน้าเจอกันนะคะ เร็วๆนี้แหล่ะค่ะ รับรองว่ามีสาระดีๆมาเสนอให้อ่านให้ชมกันอีกแน่นอนค่ะ
สำหรับวันนี้ขอตัวก่อนนะคะ สวัสดีค่าาาา บ๊ายบายย 
ปล.HAPPY CHINESE NEW YEAR นะคะ 
ซินเหนียนไคว่เล่อ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ ขอให้เฮงๆๆกันทุกคนนะคะ

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

สื่อมหัศจรรย์ ทำฉันเรียนเก่งขึ้นเยอะ :)


สวัสดีทุกคนนนนนนนนนนน อิอิ
ไม่เจอกันนานมาก.. ก่อนอื่นต้องกล่าวสวัสดีปีใหม่กับทุกๆคนก่อนเลยยยย ปีใหม่แล้ว ก็มาเขียนบล็อกรับปีใหม่เลย วันนี้มีอะไรดีๆจะมาแชร์ จะบอกว่าไปดูห้องเก็บสื่อการสอนของรุ่นพี่มา มีอะไรน่าสนใจมากมาย แต่ที่สะดุดตาคืออันนี้ คือมันดูมีอะไรอ่ะที่เป็นประโยชน์กับเราและเด็กๆอ่ะ เลยจะเอามารีวิวให้ทุกคนดูกัน ว่าสื่ออันนี้ มันดียังไง และมีสมบูรณ์แค่ไหนไปดูกันเลยค่าาา~


ชื่อ : สื่อการเรียนรู้
เกมมหัศจรรย์ดนตรี


สิ่งแรกที่เราจะมาดูกันนะคะก็คือ ส่วนประกอบองสื่อชิ้นนี้ มีอะไรบ้าง ตามรูปด้านล่างเลยค่ะ 
- แผ่นโน๊ต 3 ระดับ ระดับที่ 1. สีขาว ระดับที่ 2. สีฟ้า ระดับที่ 3. สีเหลือง
- แผ่นใสสำหรับเทียบโน๊ต
- แผ่นภาพนักประพันธ์ แถบสีเขียว สีแดง สีฟ้า สีเหลือง
- ตัวสำหรับเดิน เขียว แดง น้ำเงิน เหลือง
- แผ่นทดสอบสีแสด 5 ชุด
- แผ่นแบบคำถามสีม่วง
- แผ่นชื่อนักประพันธ์ 4 ยุค


ต่อไปเราจะมาเจาะลึกกันค่ะ วันนี้นะคะบัวจะมาวิเคราะห์และประเมินความสมบูรณ์และคุณลักษณะของชุดสื่อการสอนชิ้นนี้ักันค่ะ

การวิเคราะห์ด้านความสมบูรณ์ของชุดการสอน

1. มีสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
- สิ่งเร้าของสื่อชิ้นนี้คือการที่เด็กๆเดินในแต่ละช่องๆ จะต้องคอยลุ้นตลอดว่าเราจะเดินตกช่องแขนหักไหม ตกช่องขาดเรียนไหม  ในการหาผู้ชนะในเกมต้องคอยลุ้นตลอดว่าจะตอบคำถามได้ไหม ดังนั้นสื่อชิ้นนี้สามารถตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ เพราะผู้เรียนแต่ละคนสามารถจดจำในสิ่งต่างๆได้ต่างกัน บางคนจำชื่อนักประพันธ์ บางคนจำโน๊ต บางคนจำสัญลักษณ์ของตัวโน๊ต

2. บอกวัตถุประสงค์หรือปลายทาง
-  มีการบอกวัตถุประสงค์ชัดเจนอยู่ในคู่มือการใช้สื่อ 



3. มีเนื้อหาและกิจกรรมที่หลากหลายให้กับผู้เรียน
- มีเนื้อหาที่หลากหลายทั้งเรื่องการอ่านโน๊ตแบบตัวอักษร การอ่านโน๊ตคู่ การฝึกการจดจำสัญลักษณ์ด้านเสียง ความเร็ว และคำศัพท์ รวมถึงการจำชื่อนักประพันธ์ในแต่ละยุค การทำกิจกรรมก็มีการถามตอบคำถามตลอดการเล่นเกม

4. มีการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน
- มีตารางการบันทึกการเล่นเกมในแต่ละครั้ง ให้กับผู้เรียนแต่ละคนจะมีการทำ pre-test โดยการให้ทดลองเล่นเกมก่อน 1 รอบ และให้ทดลองอ่านโน๊ตในบางขั้น อ่านโน๊ตคู่ และให้ทำไปเรื่อยๆ ในครั้งต่อๆไปก็จะเพิ่มระดับความยากในการอ่านโน๊ตขึ้นเรื่อยๆ  เพื่อให้ผู้เรียนค่อยๆจดจำ จนครบ 12 ครั้งและทำ post-test



5. ให้ข้อมูลย้อนกลับ

- สำหรับผู้เรียนที่มีความผิดพลาดในการอ่านโน๊ตเกิน 3 ครั้ง ต่อ 3 รอบ จะต้องเล่นเกมระดับเดิมไปจนกว่าผู้เรียนจะพัฒนาการอ่านโน๊ตให้ดีขึ้น ก็เหมือนการทำให้ผู้เรียนทบทวนบทเรียนไปเรื่อยๆ ค่อยๆคิด ค่อยๆพัฒนา


ต่อไปนะคะ เป็นด้านคุณลักษณะของสื่อชิ้นนี้ค่ะ ไปต่อกันเลย เย้ ^^


วิเคราะห์ด้านคุณลักษณะของชุดการสอน


1. เป็นชุดสื่อประสมที่ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียน
- ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ถึงแม้วิธีการเล่นจะยากและยาวไปหน่อยแต่ก็ได้ผลตามที่กำหนดไว้ เด็กๆจะเริ่มจดจำไปทีละนิด การจำสัญลักษณ์ด้านดนตรีสากลนั้นเราคิดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กอายุ 7-9 ปี แต่ถ้าได้เล่นเกมนี้เป็นประจำ จะช่วยให้เด็กจดจำได้ แต่ต้องใช้เวลา
 

2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
- โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าสื่อชุดนี้ไม่ค่อยเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนเท่าไหร่ เพราะเด็กๆ ส่วนใหญ่ค่อนข้างจะซน ไม่สามารถจะมีสมาธิหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานๆ เมื่อให้เด็กๆมาเล่นแรกๆอาจจะตื่นเต้น สนุกสนาน แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ เจอคำถามที่ตอบไม่ได้ เด็กก็อาจจะเบื่อ ไม่อยากเล่นต่อ การอ่านตัวโน๊ตดนตรีสากลที่เป็นสัญลักษณ์ก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน เพราะเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ด้านสัญลักษณ์ทางดนตรี เพราะโรงเรียนส่วนใหญ่ในระดับประถมต้นจะใช้เป็นตัวเลขแทน




3. ประกอบไปด้วยสื่อหลากหลายเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดี 
- ในตัวสื่อการสอนชิ้นนี้นั้น ยังไม่ค่อยมีความหลากหลายเท่าไหร่นัก ถึงจะมีกระใช้กระดาษสี มีตัวปั๊ม มีภาพนักประพันธ์ แต่สิ่งเหล่านี้สามารถดึงความสนใจจากเด็กๆได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น บนกระดานก็มีแค่เพียงช่วงตอบคำถาม ช่องแขนหัก ช่องขาดเรียนเท่านั้นที่มาดึงดูดความสนใจเป็นบางช่วง



4. มีคำชี้แจงและคำแนะนำวิธีการใช้อย่างละเอียด ชัดเจน ง่ายต่อการนำไปใช้ 
- วิธีการเล่นยาวมากๆ หลายหน้า เนื้อหาเยอะ ไม่มีความกระชับ วิธีการเล่นวกไปวนมา จากที่ได้ลองอ่านดูยังมีความสับสนอยู่บ้าง แต่สำหรับเด็ก อายุ 7-9 ปีนั้น แค่ต้องมานั่งฟังวิธีการ กติกายาวเหยียดก็เริ่มจะเบื่อกันแล้ว 

5. มีวัสดุอุปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนในบทเรียน 
- วัสดุและอุปกรณ์บางส่วนชำรุดและเสียหาย แผ่นชื่อนักประพันธ์มีบางแผ่นชือหลุดออกไป เหลือเพียงกระดาษเปล่า แผ่นภาพของนักประพันธ์ก็มีการสลับสีบ้าง อีกทั้งแถบสีเหลืองกับแถบสีเขียวมีสีที่ใกล้เคียงกันมาก จนเกือบจะเหมือน แถบสีแดงแต่ในแผ่นภาพกลับเป็นสีชมพู อาจทำให้เด็กหยิบผิดหยิบถูกได้  



6. ได้ดำเนินการผลิตอย่างเป็นระบบ ได้ปรับปรุงและทดสอบให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ชุดการสอนไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องหลายจุด อุปกรณ์บางอย่างชำรุดง่าย ไม่ทนไม้ทนมือเด็ก เนื้อหามีความทันสมัย แต่คิดว่ายากเกินไปสำหรับเด็กช่วงวัยประถมต้น ทำให้เกิดประสิทธิภาพช้า หรืออาจจะไม่ได้เร็วตามเป้าหมายที่วางไว้ และอาจทำให้เด็กๆจำเนื้อหาได้ไม่มากนัก 

7. มีความคงทนถาวรต่อการใช้และสะดวกในการเก็บรักษา
- ตัวกล่องทำจากกระดาษลัง ทำให้มีความคงทนแข็งแรง แต่การตกแต่งด้วยเทปสีนั้น ทำให้ดูเหมาะกับวัยเด็กก็จริง แต่ส่วนใหญ่เด็กวัย 7-9 ปีนี้จะมือไว ชอบแกะ ชอบแงะไปเรื่อย ก็อาจจะมีการนั่งแกะเทป แงะลังจนฉีกขาด หรือเวลาโดนน้ำกล่องเกมก็เปื่อยได้ อุปกรณ์ที่ใช้แจกเด็กๆก็เป็นชิ้นเล็กๆ หายง่าย เดี๋ยวปลิว ฉีกขาด เปื่อยยุ่ยได้ง่าย 



ค่ะ ก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการรีวิวสื่อการสอนชิ้นนี้ จะเห็นได้ว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันไปนะคะ
วันนี้ก็ได้สาระกันมามากมายแล้ว เริ่มง่วงๆแล้วล่ะค่ะ งั้นวันนี้ต้องขอตัวไปก่อนแล้วนะคะ บ๊ายบายค่ะ

# HAPPY NEW YEAR 2014 EVERYONE :)