วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

MY INFO MY GRAPHIC


สวัสดีค่ะทุกคน กลับมาเจอกันอีกแล้วนะคะ
วันนี้เนี่ย เราก็มีสาระดีๆมาให้ดูชมกันอีกเช่นเคย แต่ที่แตกต่างจากที่ผ่านมาก็คือ
คือ....
คือ...
คือ..

"Infographic"

บางคนอาจจะไม่คุ้นกับคำๆนี้นะคะ เลยสงสัยว่า Infographic คืออะไร ?
งั้นเราก็มีภาพมาให้ดูกันก่อนเลยค่ะ ว่า Infographic เนี่ยคืออะไร แบบไหน อย่างไร
เชื่อว่าถ้าทุกคนเห็นภาพด้านล่างนี้แล้วต้องร้อง อ๋ออออ แน่ๆเลยค่ะ



Infographic ย่อมาจาก Information Graphic คือ ภาพหรือกราฟิกซึ่งบ่งชี้ถึงข้อมูล
ไม่ว่าจะเป็นสถิติ ตัวเลข ข้อมูล ความรู้อะไรต่างๆ ในปัจจุบันเรามักจจะพบเห็นได้
ตามสถานที่ทั่วไปค่ะ ส่วนใหญ่มักจะทำออกมาในลักษณะโปสเตอร์ให้ความรู้
หรือการโฆษณาเชิญชวนค่ะ เพราะงาน  Infographic มักจะใช้ข้อความสั้นๆง่ายๆ
กระชับ ทำให้เข้าใจได้ง่ายโดยการอ่านแบบ อ่านผ่านๆ การกวาดสายตาอ่านค่ะ

ถ้าถามว่าทำไม ในปัจจุบันถึงนิยมทำ Infographic ในการให้ความรู้หรือการโฆษณา
สิ่งต่างๆ ก็อาจจะเป็นเพราะว่าเป็นการทำงานที่ให้ทั้งสาระและมีความสวยงาม
มีไอเดียของผู้ทำซึ่ง งาน Infographic เนี่ยมักจะไม่ค่อยมีงานซ้ำกัน เพราผู้ออกแบบ
ต่างความคิด ต่างมุมมอง ต่างความชอบ งานก็จะออกมาหลากหลาย และมีความ
น่าสนใจอยู่เสมอค่ะ


วันนี้นะคะ เราก็มีงาน  Infographic ของเรามาอวดเหมือนกันค่ะ อาจจะไม่ได้สวยมาก
 แต่ขอรับรองเลยค่ะ ว่าได้สาระความรู้กันแน่นอน ^^ ไปดูกันเลยยยย


ด้านบนนี้ก็เป็นงาน  Infographic ที่เราทำเองนะคะ ภูมิใจมาก ทำครั้งแรกในชีวิต อิอิ 
สำหรับ  Infographic ชิ้นนี้ทำขึ้นมาเพราะอยากจะให้ความรู้กับคนอื่นในเรื่องใกล้ตัวค่ะ

วัตถุประสงค์ของการทำ  Infographic ชิ้นนี้
อยากให้ความรู้ในเรื่องใกล้ตัวกับทุกคน ในเรื่องของการทานยาเป็นเรื่องสำคัญนะคะ 
เวลาป่วย ใครๆก็อยากจะหายไวๆ การทานยาก็เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาตัว แต่ถ้าเรา
ทานยาไม่ถูกลักษณะที่ถูกต้องก็อาจจะทำให้ยาไม่ออกฤทธิ์หรืออาจจะเป็นอันตราย
ต่อสุขภาพมากขึ้นอีก เราจึงอยากทำ  Infographic นี้ขึ้นมาเพื่อบอกว่ายาที่เราทานกัน
อยู่ทุกวันนี้เนี่ย ไม่ควรทานกับอะไร ถ้าทานกับสิ่งเหล่านี้แล้วจะเป็นอย่างไร บางอย่าง
ก็ทำให้หายช้า บางอย่างก็ทำให้ป่วยหนักกว่าเดิม

กลุ่มเป้าหมาย 
กลุ่มเป้าหมายก็คือ คนทุกเพศทุกวัยค่ะ เพราะคนเราเจ็บป่วยกันได้ทุกคนค่ะ

ขึ้นตอนการดำเนินงาน
1. หาข้อมูลเรื่องที่เราจะทำ แล้วนำมาสรุปความโดยย่อ
2. กำหนดโครงสร้าง Infographic แบบคร่าวๆ อย่างเช่น จะทำแนวตั้งหรือแนวนอน 
โดยดูจากเนื้อหา
3. หารูปแบบของภาพต่างๆ เช่น รูปยา น้ำส้ม กล่องนม โค้ก กาแฟ ฯลฯ มาดูเป็นตัวอย่าง
4. ในการทำจะใช้โปรแกรม Adobe illustrator กำหนดสีของพื้นหลังก่อน
5. แบ่งพื้นที่แล้วสร้างกรอบสีเข้มให้เป็นกรอบของหัวข้อ
6. ดราฟทับรูปที่หามาเป็นตัวอย่าง คล้ายๆกับการลอกลายแล้วก็ใส่สีไปตามใจชอบแยกไว้ในอีกหน้ากระดาษ Untitled 2
7. แทรกลายยาที่ดราฟไว้ลงไป แล้วทับด้วยสีพื่นหลังที่มีลักษณะโปร่งแสง เพื่อให้เห็นลายของยา
8. พิมพ์ข้อมูลที่เตรียมไว้ลงไป แล้วจัดวางให้เหมาะสม
9. นำภาพที่ดราฟไว้ใน กระดาษ Untitled 2 มาจัดวางไว้ข้างๆข้อมูลที่จัดวางไว้ก่อนหน้า
10. เติมเส้นประเพื่อเพิ่มความเข้าใจในการดูงาน Infographic ชิ้นนี้ ว่าอะไรแยกมาจากไหน

จากการทำงานนี้นะคะทำให้เราได้ทักษะหลายอย่างมากมาย เช่น การวางแผนการทำงาน
การทำสื่อด้วยโปรแกรมทำงานศิลปะ ทำให้เราสามารถนำสิ่งเหล่านี้ไปต่อยอดในการทำงานได้ค่ะ

สำหรับวันนี้บัวก็ต้องขอลาไปก่อนนะคะ ที่จะฝากไว้อย่างนึงก็คือ ถ้าว่างอยากให้ไปลองทำกันดูนะคะ
ไม่ง่ายแต่ก็ไม่อยากอย่างที่คิด พอทำได้แล้วเราจะรู้สึกภูมิใจกับมันมากๆค่ะ (แบบเรา) 5555
ไปแล้วนะคะ สวัสดีค่าาา ^^



วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

สื่อไม่ใหม่ ทำยังไงให้ไฉไลกว่าเก่า


สวัสดีค่ะทุกคนนน เรากลับมาอีกแล้ว หลังจากหายไปนานมาก มากจริงๆ555
คราวที่แล้วเราเขียนเรื่องการวิเคราะห์สื่อไปเนอะ ตอนนี้ก็ยังคงพัวพันกับพวกสื่อนี่อยู่อ่ะนะ
แต่วันนี้ที่จะเอามาให้ดูคือ ชิ้นใหม่นะ วันนี้เอาสื่อการสอนชุด ไวพจน์จดจำ ( Synomino )
ว่ามีส่วนดีตรงไหน และส่วนใดที่ควรปรับปรุงบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ

Before
ก่อนปรับปรุงเราก็จะมาดูกันก่อนนะคะว่าสื่อชุดนี้มีอะไรบ้าง

ส่วนประกอบของสื่อ 
1.  บัตรคำจำนวน ๕ ชุดแบ่งเป็น 
-  ชุดที่ ๑ บัตรคำสีเหลือง 
-  ชุดที่ ๒ บัตรคำสีขาว 
-  ชุดที่ ๓ บัตรคำสีชมพู 
-  ชุดที่ ๔ บัตรคำสีฟ้า 
-  ชุดที่ ๕ บัตรคำสีเขียว
    
# ในบัตรคำทั้ง ๕ ชุดจะมีบัตรคำตั้งต้น (สีเหลืองอ่อน) 

 













บัตรคำทั้งหมดมีความแข็งแรงคงทน แต่มุมทั้ง 4 ของบัตรคำมีความแหลมคม ตอนที่ได้ทดลองเล่นดู
ก็มีบางครั้งที่โดนทิ่ม ดังนั้นบางทีเวลาที่ให้เด็กเล่น ก็อาจทำให้เกิดบาดแผลได้  อีกทั้งยังทำให้ซอง
ใส่บัตรคำเกิดการฉีกขาดอีกด้วย

2. คู่มือการใช้สื่อที่ติดอยู่ด้านในของฝากล่อง


คู่มือมีความกระชับ แต่บางทีก็อาจทำให้เด็กไม่เข้าใจ ไม่เห็นภาพ เพราะไม่มีตัวอย่างการเล่นที่ชัดเจน


After
หลังจากที่เราได้ศึกษาสื่อชิ้นนี้ดูพอสมควรแล้ว เราก็ได้นำมาแก้ไขปรับปรุงบางส่วน เริ่มจาก

1. บัตรคำที่มุมทั้ง 4 คม แหลม ก่อให่เกิดบาดแผลได้ เราก็เลยนำมาตัดมุมให้มีความโค้งเว้า ไม่คมเหมือนตอนแรก อีกทั้งยังทำให้นำเข้าซองเก็บได้ง่ายกว่าเดิม



2. คู่มือการใช้สื่อมีภาพประกอบทำให้เข้าใจการทำกิจกรรมนี้มากขึ้น และยังเพิ่มรายละเอียดส่วนประกอบของสื่อมาติดใหม่ด้วย 



3. มีการทำเล่มเฉลยขึ้นมา สำหรับเวลาที่เด็กๆต้องการจะเล่นกันเองโดยไม่ต้องมีครูผู้สอนหรือกรรมการ
เด็กๆสามารถตรวจคำตอบได้ด้วยตัวเอง ทำให้เด็กๆสามารถเล่นสื่อนี้ได้ตลอดเวลาที่ต้องการ 
โดยไม่ต้องรอครูผู้สอนหรือกรรมการ



ก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการแนะนำสื่อที่เรานำมาปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพของสื่อชิ้นนี้ให้ดีขึ้น 
คราวหน้าเจอกันนะคะ เร็วๆนี้แหล่ะค่ะ รับรองว่ามีสาระดีๆมาเสนอให้อ่านให้ชมกันอีกแน่นอนค่ะ
สำหรับวันนี้ขอตัวก่อนนะคะ สวัสดีค่าาาา บ๊ายบายย 
ปล.HAPPY CHINESE NEW YEAR นะคะ 
ซินเหนียนไคว่เล่อ ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดใช้ ขอให้เฮงๆๆกันทุกคนนะคะ

วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2557

สื่อมหัศจรรย์ ทำฉันเรียนเก่งขึ้นเยอะ :)


สวัสดีทุกคนนนนนนนนนนน อิอิ
ไม่เจอกันนานมาก.. ก่อนอื่นต้องกล่าวสวัสดีปีใหม่กับทุกๆคนก่อนเลยยยย ปีใหม่แล้ว ก็มาเขียนบล็อกรับปีใหม่เลย วันนี้มีอะไรดีๆจะมาแชร์ จะบอกว่าไปดูห้องเก็บสื่อการสอนของรุ่นพี่มา มีอะไรน่าสนใจมากมาย แต่ที่สะดุดตาคืออันนี้ คือมันดูมีอะไรอ่ะที่เป็นประโยชน์กับเราและเด็กๆอ่ะ เลยจะเอามารีวิวให้ทุกคนดูกัน ว่าสื่ออันนี้ มันดียังไง และมีสมบูรณ์แค่ไหนไปดูกันเลยค่าาา~


ชื่อ : สื่อการเรียนรู้
เกมมหัศจรรย์ดนตรี


สิ่งแรกที่เราจะมาดูกันนะคะก็คือ ส่วนประกอบองสื่อชิ้นนี้ มีอะไรบ้าง ตามรูปด้านล่างเลยค่ะ 
- แผ่นโน๊ต 3 ระดับ ระดับที่ 1. สีขาว ระดับที่ 2. สีฟ้า ระดับที่ 3. สีเหลือง
- แผ่นใสสำหรับเทียบโน๊ต
- แผ่นภาพนักประพันธ์ แถบสีเขียว สีแดง สีฟ้า สีเหลือง
- ตัวสำหรับเดิน เขียว แดง น้ำเงิน เหลือง
- แผ่นทดสอบสีแสด 5 ชุด
- แผ่นแบบคำถามสีม่วง
- แผ่นชื่อนักประพันธ์ 4 ยุค


ต่อไปเราจะมาเจาะลึกกันค่ะ วันนี้นะคะบัวจะมาวิเคราะห์และประเมินความสมบูรณ์และคุณลักษณะของชุดสื่อการสอนชิ้นนี้ักันค่ะ

การวิเคราะห์ด้านความสมบูรณ์ของชุดการสอน

1. มีสิ่งเร้าหรือตัวกระตุ้นที่ตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคล
- สิ่งเร้าของสื่อชิ้นนี้คือการที่เด็กๆเดินในแต่ละช่องๆ จะต้องคอยลุ้นตลอดว่าเราจะเดินตกช่องแขนหักไหม ตกช่องขาดเรียนไหม  ในการหาผู้ชนะในเกมต้องคอยลุ้นตลอดว่าจะตอบคำถามได้ไหม ดังนั้นสื่อชิ้นนี้สามารถตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ เพราะผู้เรียนแต่ละคนสามารถจดจำในสิ่งต่างๆได้ต่างกัน บางคนจำชื่อนักประพันธ์ บางคนจำโน๊ต บางคนจำสัญลักษณ์ของตัวโน๊ต

2. บอกวัตถุประสงค์หรือปลายทาง
-  มีการบอกวัตถุประสงค์ชัดเจนอยู่ในคู่มือการใช้สื่อ 



3. มีเนื้อหาและกิจกรรมที่หลากหลายให้กับผู้เรียน
- มีเนื้อหาที่หลากหลายทั้งเรื่องการอ่านโน๊ตแบบตัวอักษร การอ่านโน๊ตคู่ การฝึกการจดจำสัญลักษณ์ด้านเสียง ความเร็ว และคำศัพท์ รวมถึงการจำชื่อนักประพันธ์ในแต่ละยุค การทำกิจกรรมก็มีการถามตอบคำถามตลอดการเล่นเกม

4. มีการติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียน
- มีตารางการบันทึกการเล่นเกมในแต่ละครั้ง ให้กับผู้เรียนแต่ละคนจะมีการทำ pre-test โดยการให้ทดลองเล่นเกมก่อน 1 รอบ และให้ทดลองอ่านโน๊ตในบางขั้น อ่านโน๊ตคู่ และให้ทำไปเรื่อยๆ ในครั้งต่อๆไปก็จะเพิ่มระดับความยากในการอ่านโน๊ตขึ้นเรื่อยๆ  เพื่อให้ผู้เรียนค่อยๆจดจำ จนครบ 12 ครั้งและทำ post-test



5. ให้ข้อมูลย้อนกลับ

- สำหรับผู้เรียนที่มีความผิดพลาดในการอ่านโน๊ตเกิน 3 ครั้ง ต่อ 3 รอบ จะต้องเล่นเกมระดับเดิมไปจนกว่าผู้เรียนจะพัฒนาการอ่านโน๊ตให้ดีขึ้น ก็เหมือนการทำให้ผู้เรียนทบทวนบทเรียนไปเรื่อยๆ ค่อยๆคิด ค่อยๆพัฒนา


ต่อไปนะคะ เป็นด้านคุณลักษณะของสื่อชิ้นนี้ค่ะ ไปต่อกันเลย เย้ ^^


วิเคราะห์ด้านคุณลักษณะของชุดการสอน


1. เป็นชุดสื่อประสมที่ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของเนื้อหาบทเรียน
- ผลิตได้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ถึงแม้วิธีการเล่นจะยากและยาวไปหน่อยแต่ก็ได้ผลตามที่กำหนดไว้ เด็กๆจะเริ่มจดจำไปทีละนิด การจำสัญลักษณ์ด้านดนตรีสากลนั้นเราคิดว่าไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับเด็กอายุ 7-9 ปี แต่ถ้าได้เล่นเกมนี้เป็นประจำ จะช่วยให้เด็กจดจำได้ แต่ต้องใช้เวลา
 

2. เหมาะสมกับประสบการณ์เดิมของผู้เรียน
- โดยส่วนตัวแล้วคิดว่าสื่อชุดนี้ไม่ค่อยเหมาะสมกับวัยของผู้เรียนเท่าไหร่ เพราะเด็กๆ ส่วนใหญ่ค่อนข้างจะซน ไม่สามารถจะมีสมาธิหรือจดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้นานๆ เมื่อให้เด็กๆมาเล่นแรกๆอาจจะตื่นเต้น สนุกสนาน แต่พอเล่นไปเรื่อยๆ เจอคำถามที่ตอบไม่ได้ เด็กก็อาจจะเบื่อ ไม่อยากเล่นต่อ การอ่านตัวโน๊ตดนตรีสากลที่เป็นสัญลักษณ์ก็เป็นเรื่องยากเช่นกัน เพราะเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีความรู้ด้านสัญลักษณ์ทางดนตรี เพราะโรงเรียนส่วนใหญ่ในระดับประถมต้นจะใช้เป็นตัวเลขแทน




3. ประกอบไปด้วยสื่อหลากหลายเร้าความสนใจของผู้เรียนได้ดี 
- ในตัวสื่อการสอนชิ้นนี้นั้น ยังไม่ค่อยมีความหลากหลายเท่าไหร่นัก ถึงจะมีกระใช้กระดาษสี มีตัวปั๊ม มีภาพนักประพันธ์ แต่สิ่งเหล่านี้สามารถดึงความสนใจจากเด็กๆได้เพียงชั่วครู่เท่านั้น บนกระดานก็มีแค่เพียงช่วงตอบคำถาม ช่องแขนหัก ช่องขาดเรียนเท่านั้นที่มาดึงดูดความสนใจเป็นบางช่วง



4. มีคำชี้แจงและคำแนะนำวิธีการใช้อย่างละเอียด ชัดเจน ง่ายต่อการนำไปใช้ 
- วิธีการเล่นยาวมากๆ หลายหน้า เนื้อหาเยอะ ไม่มีความกระชับ วิธีการเล่นวกไปวนมา จากที่ได้ลองอ่านดูยังมีความสับสนอยู่บ้าง แต่สำหรับเด็ก อายุ 7-9 ปีนั้น แค่ต้องมานั่งฟังวิธีการ กติกายาวเหยียดก็เริ่มจะเบื่อกันแล้ว 

5. มีวัสดุอุปกรณ์ ตามที่กำหนดไว้อย่างครบถ้วนในบทเรียน 
- วัสดุและอุปกรณ์บางส่วนชำรุดและเสียหาย แผ่นชื่อนักประพันธ์มีบางแผ่นชือหลุดออกไป เหลือเพียงกระดาษเปล่า แผ่นภาพของนักประพันธ์ก็มีการสลับสีบ้าง อีกทั้งแถบสีเหลืองกับแถบสีเขียวมีสีที่ใกล้เคียงกันมาก จนเกือบจะเหมือน แถบสีแดงแต่ในแผ่นภาพกลับเป็นสีชมพู อาจทำให้เด็กหยิบผิดหยิบถูกได้  



6. ได้ดำเนินการผลิตอย่างเป็นระบบ ได้ปรับปรุงและทดสอบให้มีประสิทธิภาพและทันสมัย
- ชุดการสอนไม่สมบูรณ์ มีความบกพร่องหลายจุด อุปกรณ์บางอย่างชำรุดง่าย ไม่ทนไม้ทนมือเด็ก เนื้อหามีความทันสมัย แต่คิดว่ายากเกินไปสำหรับเด็กช่วงวัยประถมต้น ทำให้เกิดประสิทธิภาพช้า หรืออาจจะไม่ได้เร็วตามเป้าหมายที่วางไว้ และอาจทำให้เด็กๆจำเนื้อหาได้ไม่มากนัก 

7. มีความคงทนถาวรต่อการใช้และสะดวกในการเก็บรักษา
- ตัวกล่องทำจากกระดาษลัง ทำให้มีความคงทนแข็งแรง แต่การตกแต่งด้วยเทปสีนั้น ทำให้ดูเหมาะกับวัยเด็กก็จริง แต่ส่วนใหญ่เด็กวัย 7-9 ปีนี้จะมือไว ชอบแกะ ชอบแงะไปเรื่อย ก็อาจจะมีการนั่งแกะเทป แงะลังจนฉีกขาด หรือเวลาโดนน้ำกล่องเกมก็เปื่อยได้ อุปกรณ์ที่ใช้แจกเด็กๆก็เป็นชิ้นเล็กๆ หายง่าย เดี๋ยวปลิว ฉีกขาด เปื่อยยุ่ยได้ง่าย 



ค่ะ ก็จบไปแล้วนะคะสำหรับการรีวิวสื่อการสอนชิ้นนี้ จะเห็นได้ว่ามีทั้งข้อดีและข้อเสียปะปนกันไปนะคะ
วันนี้ก็ได้สาระกันมามากมายแล้ว เริ่มง่วงๆแล้วล่ะค่ะ งั้นวันนี้ต้องขอตัวไปก่อนแล้วนะคะ บ๊ายบายค่ะ

# HAPPY NEW YEAR 2014 EVERYONE :)